วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552
คีย์ลัด
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ที่มาของคำว่า Boot/ boot record/ bootstrap loader
เวลาที่เราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนแรกที่จะใช้งาน มักจะได้ยินคำว่า บูต (Boot) เครื่องบ่อยๆ ซึ่งคอมพิวเตอร์จะทำการบูตเครื่องโดยใช้โปรแกรม BIOS แล้วไอ้การบูตเครื่องจริง ๆ แล้วมันคืออะไร
บูต (Boot) ก็คือ การเตรียมความพร้อมในการใช้คอมพิวเตอร์ มีการตรวจสอบสถานะของเครื่อง การบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ บอกว่ามี RAM เท่าไร BUS อะไรบ้าง CPU ของเรามีความเร็วเท่าไรเป็นต้นพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการเตรียมความพร้อมนั่นเอง โดยการบูตเครื่องจะมีโปรแกรม BIOS ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาไปหลาย version แล้ว เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
การบูตเครื่องมี 2 ประเภท คือ
1. Cold Boot คือ การเปิดสวิตซ์ (ปุ่ม Power ด้านหน้า Case นั่นเอง) ซึ่งปิดอยู่ก่อนแล้วเพื่อเริ่มต้นการใช้งาน และ
2. Warm Boot คือ การ reboot โดยอาจกดปุ่มสวิตซ์ (ปุ่ม Power) เพื่อดับไฟหรือกดปุ่ม reset (ปุ่มเล็ก ๆ ด้านหน้า Case นั่นเอง) หรือกดปุ่ม Ctrl+Alt+Del บนคีย์บอร์ด เพื่อพักการใช้งานชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจจะเกิดจากความบกพร่องบางอย่างที่ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ หรือที่เรียกกันว่า เครื่องแฮงค์ (Hang) นั่นเอง
boot หรือการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) เมื่อมีการโหลดระบบปฏิบัติการ (บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะเห็นการเริ่ม Windows หรือ Mac บนจอภาพ) แสดงว่าพร้อมให้ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมประยุกต์ บางครั้งจะพบคำสั่ง "reboot" ในระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีความหมายว่ามีการโหลดระบบปฏิบัติการใหม่ (การใช้คำสั่งนี้ที่คุ้นเคยกัน ให้กดปุ่ม (Alt, Ctrl และ Delete พร้อมกัน) ในคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (รวมถึงเครื่องเมนเฟรม) มีคำที่เทียบได้กับ "boot" คือ "Initial Program Load (IPL)" และสำหรับ "reboot" คือ "re-IPL" นอกจากที่ boot สามารถใช้เป็นคำนามเหมือนกับ การบู๊ตระบบ (system boot) คำนี้มีที่มาจากคำว่า "bootstrap " ซึ่งหมายถึงหว่งหนังขนาดเล็กด้านหลังของรองเท้าบู๊ตที่ให้ดึง เพื่อดึงรองเท้าขึ้น การบู๊ตระบบปฏิบัติการโดยการโหลดโปรแกรมขนาดเล็กเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ และให้โปรแกรมควบคุมการโหลดระบบปฏิบัติการต่อไปการบู๊ตหรือโหลดระบบปฏิบัติการมีความแตกต่างกันมากกว่าการติดตั้ง ซึ่งการกระทำเพียงครั้งเดียว เมื่อมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ จะมีขึ้นตอนในการเลือกวิธีการคอนฟิก เมื่อสิ้นสุดการติดตั้งระบบปฏิบัติการบนฮาร์ดดิสก์พร้อมที่จะบู๊ต (โหลด) เข้าสู่หน่วยความจำชั่วคราว ซึ่งเป็นที่เก็บที่ใกล้กับไมโครโพรเซสเซอร์ และทำงานเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์ โดยปกติ ภายหลักการติดตั้งระบบปฏิบัติการแล้วเปิดเครื่องใหม่ ระบบปฏิบัติการจะบู๊ตอย่างอัตโนมัติ ถ้าการใช้งานมีปัญหาหน่วยความจำไม่พอ หรือระบบปฏิบัติการ หรือโปรแกรมประยุกต์มีความผิดพลาด จะมีข้อความแสดงความผิดพลาดหรือจอภาพอยู่นิ่ง ในกรณีเหล่านี้จำเป็นต้อง "reboot " ระบบปฏิบัติการ
หมายเหตุ ขึ้นตอนเหล่านี้อาจจะแตกต่างจาก MAC, UNIX, OS/2 หรือ ระบบปฏิบัติการอื่น ๆ เมื่อมีการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติจะได้รับการตั้งค่าในการบู๊ต (โหลดไปที่ RAM) โดยอัตโนมัติ ตามขึ้นตอนต่อไปนี้
1. เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ BIOS (Basic Input/Output System) ที่อยู่บนชิป ROM (read-only menoy) จะ"ถูกปลุก" และทำงาน โดย BIOS จะพร้อมในการโหลด เพราะว่าอยู่ชิป ROM ซึ่งต่างจาก RAM เนื่องจากข้อมูลใน ROM ไม่มีการลบเมื่อมีการปิดเครื่อง
2. BIOS ในขึ้นตอนที่ 1 จะทำการตรวจสอบ แบบ power-on self test (POST) เพื่อทำให้มั่นใจว่าอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดทำงานได้ จากนั้นโปรกแกรมบู๊ตของ BIOS จะมองหาโปรแกรมบู๊ตพิเศษที่ทำหน้าที่โหลดระบบปฏิบัติการไปที่ ฮาร์ดดิสก์
3. ขั้นแรก มองหาในไดรฟ์ A เป็นสถานที่ที่ระบุที่เก็บไฟล์บู๊ตของระบบปฏิบัติการ (ถ้าระบบปฏิบัติการเป็น MS-DOS จะหาไฟล์ 2 ไฟล์ ชื่อ IO.SYS แลt MSDOS.SYS) ถ้ามีดิสก์ในไดรฟ์ A แต่ไม่ใช้แผ่น system สำหรับการใช้งาน BIOS จะส่งข้อความบอกว่าไดรฟ์ A ไม่มีแผ่น system ถ้าไดรฟ์ A ไม่มีดิสก์ BIOS จะมองหาไฟล์ system จากตำแหน่งที่ระบุในฮาร์ดดิสก์
4. เมื่อระบุไดรฟ์ที่เก็บไฟล์บู๊ตแล้ว BIOS จะมองต่อไปที่ sector แรก (พื้นที่ 512-byte) และสำเนาสารสนเทศจากตัว BIOS ไปยังตำแหน่งที่ระบุใน RAM สารสนเทศนี้เรียกว่า boot record หรือ Mastor Boot Record
5. จากนั้นจะโหลด boot record ไปที่ตำหน่งที่ระบุใน RAM (address 7C00)
6. boot record เก็บโปรแกรมที่ BIOS ส่งให้เพื่อให้ boot record ควบคุมคอมพิวเตอร์ต่อไป
7. boot record จะโหลดไฟล์เริ่มต้น (เช่น ระบบ DOS คือ IO.SYS) ไปที่ RAM จากดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์
8. ไฟล์เริ่มต้น (เช่น IO.SYS ซึ่งรวมถึงโปรแกรม SYSINIT) จะโหลดส่วนที่เหลือของระบบปฏิบัติการไปที่ RAM (จากจุดนี้ boot record ไม่มีความจำเป็นแล้ว และสามารถแทนที่ด้วยข้อมูลอื่น)
9. ไฟล์เริ่มต้น (เช่น SYSINIT) จะโหลดไฟล์ระบบ (เช่น MSDOS.SYS) ซึ่งสามารถทำงานกับ BIOS ได้
10. ไฟล์ของระบบปฏิบัติการ ไฟล์หนึ่งที่โหลดเข้ามาเป็นชุดแรก คือ ไฟล์คอนฟิกระบบ (สำหรับ DOS เรียกว่า CONFIG.SYS) สารสนเทศในไฟล์คอนฟิกจะบอกให ้โหลดโปรแกรมที่เจาะจงในชุดไฟล์ ของระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต้องโหลด (เช่น ไฟล์ driver ของอุปกรณ์)
11. ไฟล์พิเศษอีกไฟล์ที่ทำหน้าที่บอกถึงโปรแกรมประยุกต ์หรือคำสั่งที่ผู้ใช้ต้องการใช้ ที่รวมอยู่ขั้นตอนการบู๊ตใน DOS เรียกไฟล์ที่ว่า AUTOEXEC.BAT ใน Windows เรียกว่า WIN.INI
12. หลังจากไฟล์ทั้งหมดระบบปฏิบัติการได้รับการโหลดแล้ว ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ และทำงานตามการขอเริ่มต้น จากนั้นจะรอคำสั่งจากผู้ใช้
Boot record โปรแกรมสั้นๆซึง่สามารถเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องถูกอ่านก่อนเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อเปิดสวิตซ์หรือบูตเครื่อง โปรแกรมนี้จะสั่งให้ไปอ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมและเข้ามาในหน่วยความจำขอเครื่องคอมพิวเตอร์อัชีกต่อหนึ่ง
Bootstrap loader เป็นโปรแกรมสั้นๆที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำแบบรอม ทำหน้าที่เรียกโปรแกรมควบคุมจากแผ่นจานแม่เหล็กมาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะใช้งานได้ทันทีในขณะที่เปิดสวิตซ์
วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การเลือกซื้ออุปกรณ์
การเลือกซีพียูมีขั้นตอนง่ายๆในการพิจารณาคือ “ประสิทธิภาพที่คุ้มค่าต่อการใช้งานของคุณ” กล่าวคือ การจะเลือกซีพียูนั้นให้มองที่การใช้งานประจำวันของคุณเป็นหลัก ผู้ใช้มือใหม่ เน้นราคาประหยัด
ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ Celeron D 420:1.60GH,512KBL2,800MHz,Socket775 ราคา1,300บาท กลุ่มนักเล่นเกมตัวยง
ซีพียูที่น่าสนในกลุ่มนี้ ข้อสังเกต ซีพียู่ในกลุ่มของ Core 2 Duo จะมีให้เลือก 2 รูปแบบในซีรีส์เดียว ตัวอย่างเช่น E6850 ซึ่งทั้งคู่จะมีความคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันเพียงระบบบัสที่เปลี่ยนจาก 1066MHz มาเป็น 1333MHz แต่ปัจจุบันจะมีเพียง E6550/E6750 และ E6850 ที่จำหน่ายอยู่เท่านั้น การใช้งานกราฟิกเป็นหลัก ในบรรดากลุ่มผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกันนั้น กลุ่มของงานกราฟิกและการตัดต่อ นับเป็นกลุ่มที่ต้องการศักยภาพในการทำงานสูงสุด เนื่องจากไม่ว่าจะเป็นระบบการเข้ารหัสไฟล์วิดีโด การตัดต่อภาพ การเรนเดอร์ออปเจ็กต์สามมิติที่มีขนาดใหญ่ ล้วนแต่พึ่งการทำงานของซีพียูเป็นหลัก ดังนั้นแล้วซีพียูที่ใช้ต้องสามารถตอบสนองต่อการประมวลผลที่ซับซ้อนได้ด ีและมีเทคโนโลยีที่รองรับโปรแกรมเฉพาะทางเหล่านี้ได้ด้วยซึ่งซีพียูที่รองรับการทำงานได้ดีในด้านนี้มีให้เลือกด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Intel Core 2Quad หรือ AMD Phenom ที่เป็นแบบ Quad Core ที่เพิ่งวางจำหน่ายช่วงปลายปี 2550 มานี้ ซีพียูที่น่าสนใจในกลุ่มนี้ Intel Core 2 Extreme 9650:3.00GHz,1 2MB L2 1333MHz bus,Socket 775 ผู้ที่ชอบความเงียบของไร้เสียงรบกวน ผู้ใช้กลุ่มนี้ จะเน้นการทำงานในระดับกลาง สำหรับการชมภาพยนตร์ในแบบโฮมเธียเตอร์และเพียงพอสำหรับการเล่นมีเดียไฟล์คุณภาพสูง (Hi-Def) กลุ่มนี้จัดเป็นกลุ่มที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันมากทีเดียว ด้วยรูปแบบของซีพียูที่กินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำจึงทำให้ออกแบบการระบายความร้อนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการใช้พัดลมน้อยลงเกิดเสียงดังรบกวนที่น้อยเนื่องจากมีเทคโนโลยี Enhance SpeedStep หรือ Cool”n Quietจึงลดความร้อนในการทำงานลง สามารถใช้ในเคสคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กได้อีกด้วย ซีพียูที่น่าสนใจมีด้วยกันหลายรุ่นไม่ว่าจะเป็น Athlon X2 BE2xxx Series หรือซีพียูรุ่นใหม่จากอินเทลในแบบ 45nm ก็ตาม
ตรวจสอบความถูกต้องของซีพียูง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง
องค์ประกอบและเงื่อนไขในการรับประกัน การรับประกันเป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้ทีเดียว โดยเฉพาะกับซีพียูที่ค่อนข้างมีความอ่อนไหวและมีราคาที่สูง หากเกินความเสียหายหรือมีอาการผิดปกติขึ้นในระหว่างการใช้งานส่วนของการรับประกันจะจำเป็นมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่การรับประกันจะมีตั้งแต่ 1-5 ปี ขึ้นอยู่กับผู้จำหน่ายแต่ละรายกำหนดไว้ ซึ่งสิ่งสำคัญ การเลือกซื้อเมนบอร์ด ปัจจุบันในตลาดมีเมนบอร์ดให้เลือกอยู่หลากรุ่นหลายยี่ห้อ แม้ในซีรีส์ที่เป็นชิปเซตเดียวกัน ยังถูกจำแนกออกเป็นรุ่นต่างๆมากมายโดยมีฟีเจอร์หลักที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่ด้วยการออกแบบลูกเล่นต่างๆประกอบเข้าไป เช่นชุดระบายความร้อนคุณภาพของชุดคาปาซิเตอร์ดีไซน์ ไบออส และคุณภาพ จึงกลายเป็นจุดขายที่แต่ละค่ายนำมาเสนอ ดังนั้นการเลือกใช้ต้องพิจารณาจากรูปแบบ ฟังก์ชันการใช้งานรวมถึงคุณภาพและราคาที่เหมาะกับผู้ใช้เป็นหลัก โดยเฉพาะในเรื่องของซิปเซตที่มีอยู่มากมายให้เลือกใช้ การเลือกเมนบอร์ดสำหรับการใช้งานให้ถูกใจนั้นมีหลักที่ควรพิจารณา 4 ข้อคือ ซีพียูและซ็อกเก็ต สำหรับปัจจุบัน ทาง Intel นั้นยังคงใช้ซ็อกเก็ต 775อยู่เช่นเดิมไม่ว่าจะเป็น Celeron D,Pentiun 4,PentiunD,Core2Duo ไปจนถึง Core 2 Extremeและ Core 2 Quad และให้สังเกตบัสของซีพียูที่นำมาใช้ว่าเป็น FSB 800,1066หรือ1333ซึ่งชิปเซตในแต่ละรุ่นก็จะมีการสนับสนุนต่างกันออกไป มีฟังก์ชันต่างๆ ครบถ้วนตามที่ต้องการหรือไม่ ฟังก์ชันที่เป็นองค์ประกอบพื้นฐานไปจนถึงฟีเจอร์ต่างๆที่มีอยู่ในซิปเซต รวมถึงองค์ประกอบที่สำคัญของเมนบอร์ด ซึ่งประกอบไปด้วย สล็อตของหน่วยความจำ แม้ว่าแนวโน้มราคาในตลาดจะตกลงมาพอสมควร เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่การเลือกแรมความสูงอย่าง2GBที่มีราคาสูงกว่า 1GBอยู่มากอาจเป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผลนัก หากต้องการใช้งานโดยทั่วไปดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดที่มีสล็อตแรมที่มากถึง 4 ช่องแล้วเลือกแรมขนาด 1GBติดตั้งครั้งละ 1-2แถว และยังมีช่องสำหรับอัพเกรดได้ในอนาคต ก็ช่วยคุณประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงฮาร์ดดิสก์ หลายคนให้ความสำคัญอย่างมากในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ด ให้มีพอร์ตสำหรับรองรับฮาร์ดดิสก์ได้จำนวนมาก จะช่วยให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้เมนบอร์ดหลายรุ่น ยังเพิ่มเติมฟังก์ชันพิเศษ ให้ผู้ใช้เพิ่มประสิท ธิภาพในการเก็บข้อมูลได้ดีขึ้นด้วยคอนโทรลเลอร์สำหรับการต่อพ่วง RAID 0,1,0+1,5JBOD ที่มีประโยชน์ทั้งการจัดเก็บข้อมูล ความเร็วและระบบปลอดภัย และข้อสังเกตหนึ่งก็คือ ในปัจจุบันเมนบอร์ดส่วนใหญ่จะให้พอร์ตต่อ IDE มาเพียงช่องเดียว ดังนั้นมักจะเกิดปัญหากับผู้ที่อัพเกรดจากระบบเก่า ที่ส่วนใหญ่จะใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ IDE ดังนั้นการเลือกเมนบอร์ดที่มีคอนโทรลเลอร์พิเศษที่เพิ่มพอร์ต IDE มาเพิ่มเติมให้ก็จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ PCI สล็อต หลายครั้งการที่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ในตลาดติดตั้งสล็อต PCI มาให้น้อยลง กลายเป็นปัญหากับผู้ใช้ที่มีการ์ดต่อพ่วงจำนวนมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการติดตั้งระบบเสียและเน็ตเวิร์กจะถูกติดตั้งมาบนเมนบอร์ดอยู่แล้ว แต่ต้องไม่ลืมว่าหากเป็นการใช้งานระบบมัลติมีเดียหรือนำ มาใช้ในการตัดต่อแล้ว จำเป็นต้องมีการ์ดต่อพ่วงที่เสริมเข้ามามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดตัดต่อ, การ์ดสำหรับ IEEE 1394/USB, การ์ดเสียง, ทีวีจูนเนอร์ ในบางครั้งมีการ์ด SCSII และการ์ดสำหรับการเพิ่มฮาร์ดดิสก์ หากมีสล็อต PCI เพียงสองสามช่องคงไม่เพียงพอ ดังนั้นแล้วหากจำเป็นต้องใช้งานในรูปแบบดังกล่าวควรเลือกเมนบอร์ดที่ให้มีสล็อต PCI มากขึ้น รวมไปถึงการมองรูปแบบอื่นที่เป็นทางเลือกมาเสริม เช่น USB หรือ IEEE1394 พอร์ต USB2.0, IEEE1394 นับเป็นพอร์ตที่สำคัญอย่าง มากสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงอยู่มากมายเนื่องจากในเวลานี้ อุปกรณ์ส่วนใหญ่มักใช้พอร์ต USB ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้วยการถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วและใช้งานได้ง่าย สะดวก ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิตอล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม พรินเตอร์ สแกนเนอร์ การ์ดรีดเดอร์ ทีวีจูนเนอร์หรือแม้กระทั่งฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก (External drive) ในบางครั้งการใช้งานที่บ้านหรือสำนักงานที่ไม่มีเครื่องส่วนกลาง คอมพิวเตอร์ส่วนตัวก็จะรับหน้าที่ในการต่อพ่วงอุปกรณ์ต่างๆ ไปโดยปริยาย ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดก็ควรจะให้มีพอร์ต USB ที่สามารถเพิ่มเติมจากมาตรฐานได้ ซึ่งดูได้จากพอร์ตต่อพ่วงในแบบ Expansion ที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดนั่นเอง ไบออสที่รองรับการปรับแต่ง สิ่งนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับผู้ใช้ทั่วไป แต่สำหรับนักโอเวอร์คล็อกแล้วละก็ ไม่ควรมองข้ามทีเดียว เนื่องจากช่วยในการเร่งประสิทธิภาพซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆ ได้อย่างมีเสถียรภาพ ดังนั้นแล้วการเลือกเมนบอร์ดที่มีไบออสรองรับการปรับแต่งได้ ก็จะช่วยให้การ ปรับแต่ง สัญญาณนาฬิกา แรงดันไฟ ระบบบัส ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเสถียรภาพของระบบได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเตือนอุณหภูมิ การตั้งรอบพัดลม รวมไปถึงการปรับฟีเจอร์ต่างๆ ของซีพียู สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ทีเดียว ชุดระบายความร้อน ในอดีตการระบายความร้อนบนเมนบอร์ดอาศัยแรงลมจากพัดลมซีพียูเป็นหลัก แต่ปัจจุบันปัญหาจากความร้อนของบรรดาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ด เริ่มมีมากขึ้น ส่งผลให้อายุการทำงานของชุดจ่ายไฟและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สั้นลง ดังนั้นแล้วผู้ผลิตหลา ยรายจึงให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นผู้ใช้ที่มักติดตั้งอุปกรณ์จำนวนมากไว้ภายในเครื่องหรือชอบการโอเวอร์คล็อกควรเลือกเมนบอร์ดที่มีชุดระบายความร้อนที่ดีกว่าปกติ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเมนบอร์ด แม้ว่าอาจจะมีราคาสูงกว่าอยู่บ้าง แต่นับว่าคุ้มค่ากับการใช้งานที่ยาวนานขึ้น คุณภาพของวัสดุและการออกแบบ การออกแบบและวัสดุในการผลิต มีส่วนสำคัญอย่างมากกับการเลือกใช้เมนบอร์ด แม้ว่าจะเป็นไปได้ในการเข้าไปดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน แต่ก็มีข้อสังเกตในหลายจุดที่ไปดูกระบวนการผลิตที่โรงงาน แต่ก็มีข้อสังเกตในหลายจุดที่ทำให้มั่นใจได้ ตั้งแต่เรื่องของแพ็กเกจของเมนบอร์ดที่ควรจะมีอุปกรณ์มาตรฐานเตรียมไว้ให้ไม่ว่าจะเป็น คู่มือ แผ่นไดร์เวอร์ ซอฟต์แวร์บันเดิล สายสัญญาณ รวมไปถึงชุดต่อพ่วงสัญญาณจากเมนบอร์ด ซึ่งควรจะมีรายละเอียดสำคัญของเมนบอร์ดอธิบายไว้ มีชุดระบายความร้อนให้กับชิปเซตหรือถ้าให้ดีก็ควรมีการระบายความร้อนให้กับภาคจ่ายไฟเพิ่มเติมเข้ามาด้วย และที่สำคัญคือ คุณภาพของคาปาซิเตอร์ที่ในปัจจุบันหลายค่ายเริ่มนำ Soild Capacitor ที่ทนต่อแรงดันไฟได้สูงมาใช้ ถึงแม้จะมีราคาที่แพงขึ้นอยู่บ้าง แต่ก็ให้ความคุ้มค่าในระยะยาวลดความเสี่ยงอันอาจเกิดกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่ติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ดในกรณีที่มีการลัดวงจรหรือระเบิดได้อีกด้วย ราคาและการรับประกันเป็นอย่างไรบ้าง เรื่องของการรับประกัน ให้สอบถามรายละเอียดกับผู้จำหน่ายโดยตรง โดยเฉพาะกับเงื่อนไขที่สำคัญต่างๆ เนื่องจากมีหลายครั้งที่ผู้บริโภคไม่เข้าใจกับกฎเกณฑ์ที่ผู้จำหน่ายตั้งขึ้น จนเกิดเป็นปัญหา ดังนั้นแล้วเมื่อซื้อเมนบอร์ดทุกครั้งให้สอบถามข้อสงสัยอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นระยะเวลา เงื่อนไขความเสียหาย เคลมเปลี่ยนหรือเคลมซ่อม รวมถึงการตรวจสอบ Void Warranty การประกันที่ติดอยู่บนเมนบอร์ดให้ถูกต้อง ในส่วนของระยะเวลา เดือนปีที่รับประกัน แต่ผู้จำหน่ายบางรายติดเพียง Serial number ให้ลูกค้าตรวจสอบได้เองผ่านเว็บไซต์ของตนหรือแม้กระทั่งเช็กสถานนะเมื่อส่งเคลมได้อีกด้วย ส่วนเงื่อนไขหลักของการรับประกันที่ใช้กันอยู่ทั่วไปคือ ไม่แตกหัก ไหม้หรือรอยขูดขีดที่ลึกถึงส่วนของสายพรินต์ ซึ่งผู้ใช้ควรจะต้องรับทราบในเงื่อนไขเบื้องต้นไว้เพื่อการระมัดระวังขณะติดตั้ง เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับชิปเซตของเมนบอร์ด Intel X38 และ X48 เป็นชิปเซตสำหรับเพาเวอร์ยูสเซอร์ที่ต้องการศักยภาพและฟีเจอร์สำหรับการเล่นเกม และการทำงานโดยเฉพาะซึ่งออกมารองรับการทำงานร่วมกับซีพียูในรุ่น Core 2 Duo และ Core 2 Quad รวมถึง Core 2 Extreme ได้เป็นอย่างดี ด้วยการรองรับบัส 1333MHz, Multi-GPU ผ่านทาง PCI-Express X162 ช่อง สนับสนุนการต่อพ่วงฮาร์ดดิสก์แบบ RAID และใช้งานร่วมกับหน่วยความจำ DDR2/DDR1066 นับเป็นชิปเซตรุ่นใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อเอาใจผู้ที่ชอบความแรงโดยเฉพาะส่วนทางผู้ใช้ซีพียู AMD ก็มีให้เลือกอยู่มากมายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น nForce 570 หรือ 590 SLI ที่มาพร้อมฟีเจอร์ สำหรับคอเกมโดยเฉพาะ ด้วยการสนับสนุนการต่อพ่วงกราฟิกการ์ดในแบบ SLI 16X ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานรองรับหน่วยความจำ DDR2 800รวมไปถึงการรองรับฮาร์ดดิสก์ในแบบ SATA2 ที่มาพร้อมฟังก์ชันการต่อพ่วงแบบ RAID ตลาดกลางเน้นที่ฟังก์ชันการใช้งาน Intel 945P, 965P และ P35 ยังคงเป็นชิปเซตที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มค่าในการใช้งานโดยทั่วไป ที่แม้ว่าจะเป็นชิปเซตรุ่นเก่า แต่ก็ยังมีฟังก์ชันที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานร่วมกับซีพียูได้ทั้ง Core 2 Duo และ Core 2 Quad รองรับหน่วยความจำ DDR2 800 สนับสนุนการต่อพ่วงกราฟิกการ์ดในแบบ Multi-GPU รวมถึงรองรับฮาร์ดดิสก์ SATA2 และยังต่อพ่วงกันในแบบ RAID ได้อีกด้วย นับเป็นชิปเซตที่มีความคุ้มค่าสูง อีกทั้งมีฟีเจอร์ไม่เป็นรองชิปเซตรุ่นใหญ่สำหรับผู้ใช้ AMD ก็มีชิปเซตหลายรุ่นให้เลือกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น nForce 500 หรือ 550 แม้ว่าจะเป็นชิปเซตระดับกลาง แต่ก็ให้ประสิทธิภาพในการทำงานและการสนับสนุนอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ได้น่าประทับใจทีเดียว ทั้งการรองรับซีพียู Athlon64 X2, Athlon 64 และ Sempron ร่วมกับหน่วยความจำ DDR2 800 และมีสล็อตสำหรับกราฟิกการ์ด PCI-Express 16X รวมถึงระบบ RAID SATA 2 ตลาดล่างเน้นความประหยัดด้วยชิปอินทิเกรต สำหรับผู้ใช้อินเทลที่เน้นความประหยัดหรือชื่นชอบเมนบอร์ดที่มีทุกอย่างครบเครื่อง ทั้งเรื่องภาพและเสียงโดยชิปเซตทางอินเทลมีให้เลือกอยู่หลายรุ่นด้วยกัน ซึ่งใช้รหัส G ในซีรีส์ ไม่ว่าจะเป็น945G/965Gที่มีกราฟิกGMA900/950เข้ามารับหน้าที่ในการประมวลผลสามมิติ ซึ่งเน้นที่ความคุ้มค่าเป็นหลัก เนื่องจากรองรับ Core2Duonได้เช่นกัน แต่หากจะเลือกรุ่นที่ประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้วปัจจุบัน Intelก็มีชิปเซตในตระกูลใหม่มาให้เลือก ไม่ว่าจะเป็น G33 และ G35 ซึ่งทั้งคู่เป็นสายเลือดเดียวกับ P35 และ X38 จึงรองรับกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ รวมถึงการสนับสนุนหน่วยความจำ DDR2 800 และมี PCI-Express X 16 สำหรับกราฟิกการ์ดอีกด้วยโดยเมนบอร์ดในกลุ่มดังกล่าวนี้ ส่วนใหญ่ เป็นมาตรฐาน mATX ชิปกราฟิกที่ติดมากับเมนบอร์ด GMA900/950/x3000ติดตั้งอยู่บน Intel 945G และ965G มีความเร็วในการทำงานGPU 250-400MHz และแชร์หน่วยความจำได้สูงสุด 224MBX3100ถูกติดตั้งอยู่บน Intel G31/G33 มีความเร็วสัญญาณนาฬิกา 500MHz และแชร์หน่วยความจำได้ถึง 384MBจุดเด่นของชิปเซตกราฟิกอินทิเกรตของทาง Intel ะอยู่ที่การแชร์หน่วยความจำแบบ Dynamic (DVMT) โดยระบบจะดึงหน่วยความจำหลักมาใช้เฉพาะที่จำเป็นนั้น ไม่เก็บเป็นการถาวร ดังนั้นจึงทำให้ระบบหลักก็จะไม่เสียประสิทธิภาพไปต่างจากการแชร์ในอดีต ที่จะดึงมาใช้เป็นการถาวร
ความละเอียด (Resolution) ถ้ามองไปในตลาด ณ วันนี้ความละเอียดส่วนใหญ่ถูกกำหนดด้วยขนาดของจออยู่แล้ว เช่น จอขนาดเล็ก 15” ก็จะให้ความละเอียดที่ 1024x768 แต่ถ้าเป็น 22”จะอยู่ที่ 1680x1050ซึ่งการจะเลือกใช้ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการทำงานไม่วาจะเป็น การเล่นเกม ชมภาพยนตร์ งานเอกสาร ตัดต่อกราฟิก ก็ล้วนแต่มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ขนาดหน้าจอและความละเอียดของ LCD ที่พบกันบ่อยในตลาด
จอธรรมดาหรือจอกระจก เรื่องของหน้าจอแสดงผล ถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่หลายคนนำมาใช้ในการเลือกซื้อ LCD ด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกทั้งแบบจอแบบเคลือบเงาหรือที่เรียกว่า จอกระจก จอแบบดังกล่าวนี้มีคุณสมบัติที่ดีในการชมภาพยนตร์และเล่นเกม เนื่องจากให้สีสันที่สดใสและแสงที่สว่างจึงมักได้รับความนิยมหมู่คนที่ชอบความบันเทิงเป็นหลัก แต่ราคาจะค่อนข้างสูงส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นจอธรรมดา คุณสมบัติที่ดีอยู่ที่การให้ความคมชัดที่สูง ไม่เน้นที่ความสว่างมากนัก จึงเหมาะกับผู้ที่ใช้งานอยู่หน้าจอเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังไม่มีการสะท้อนรบกวนของแสงเช่นเดียวกับจอกระจก ที่แม้จะมีการโค๊ตติ้งมาแล้วก็ตาม อีกทั้งจอแบบดังกล่าวยังมีราคาที่ไม่สูงอีกด้วย ทั้งสองแบบนี้เอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ส่วนการจะเลือกแบบใดนั้นให้ดูที่ความต้องการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นหลัก Response Time สำคัญเพียงใด เป็นอัตราความเร็วในการตอบสนองของเม็ดสี ในการเปลี่ยนสีจากดำมาเป็นขาวแล้วกลับเป็นดำ (B/W)หรือบางครั้งอาจเป็นจากสีเทามาเป็นเทา(G/G)โดยบอกเวลาเป็นวินาทีซึ่งตัวเลขยิ่งน้อย ก็จะส่งผลให้การแสดงภาพมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น หากตัวเลขมากหรือช้า อาจเกิดอาการที่เรียกว่าภาพซ้อนหรือ Ghost เกิดขึ้น จนทำให้การเล่นเกมหรือการชมภาพยนตร์เสียอรรถรสไป ดังนั้นการเลือกซื้อปัจจุบันควรจะอยู่ที่ 2-8ms โดยประมาณ Contrast Ratio ค่า Contrast Ratio เป็นค่าที่นำมาใช้ในการวัดอัตราส่วนของความสว่างและความมืด ว่ามีมากน้อยเพียงใด ซึ่งจะส่งผลต่อความคมชัด สมจริงที่เกิดขึ้นในภาวะแสงต่างๆ การเลือกให้ดูตัวเลขที่สูงเป็นหลัก โดยปัจจุบันมีให้เลือกตั้งแต่ 500 : 1, 700 : 1, 1000 : 1, ไปจนถึงบางค่ายมีให้เลือกถึง 5000 : 1 ซึ่งก็แล้วแต่การวัดว่าเป็นแบบ Native หรือ Dynamic พอร์ต D-Sub DVI, HDMI ในส่วนของพอร์ตแสดงผล หากเป็นไปได้ควรเลือกจอที่มีพอร์ตแบบ DVI มาให้หรือมีให้ 2 แบบคือทั้ง D-Sub และ DVI เนื่องจากปัจจุบัน แม้ว่าการแสดงผลจะยังมีพอร์ต D-Sub ให้ใช้อยู่ก็ตาม แต่แนวโน้มในไม่ช้ากราฟิกการ์ดจอรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมานั้น จะมีแต่พอร์ตที่เป็น DVI เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการ์ดหลายรุ่นจะเป็นแบบ Dual DVI อีกด้วย จึงไม่จำเป็นต้องหาตัวแปลงสัญญาณมาใช้ นอกจากนี้DVI ยังให้สัญญาณที่นิ่งกว่า เนื่องจากไม่ต้องแปลงจากดิจิตอลเป็นอะนาล็อกไปมาอีกด้วย การรับประกัน ประกัน Dot หรือ Dead pixels ให้สอบถามจากทางร้านให้ละเอียดครบถ้วน ทั้งในเรื่องของจำนวน Dot ที่เสีย จำนวนเท่าใดเคลมได้หรือมากกี่จุดถึงยอมให้เปลี่ยนตัวใหม่ ซึ่งต้องขอความชัดเจนให้มากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในขึ้นตอนการเคลม จึงค่อยนำออกจากร้าน การเลือกซื้อ ฮาร์ดดิสด์ ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ที่ใช้กันบนพีซีทั่วไปนั้น แบ่งเป็น 2 แบบคือ IDE หรือ (E-IDE) และ SATA ซึ่งทั้ง 2 แบบ มีรูปแบบและอินเทอร์เฟชในการติดต่อข้อมูลแตกต่างกันไป แต่ในตลาด ณ เวลานี้ ส่วนใหญ่เราจะเห็นในแบบ SATA และ SATA2 กันมากกว่า โดยที่ฮาร์ดดิสก์ในแบบ IDE ดูจะถูกลดบทบาทลงอย่างมาก เหตุผลมาจากที่แมนบอร์ดในปัจจุบันมีพอร์ตสำหรับ IDE เพียงช่องเดียว ซึ่งต่ออุปกรณ์ได้ 2 ตัว แต่ตัวหนึ่งก็ถูกใช้กับออฟติคอลไดรฟ์ไปแล้ว จึงเป็นเรื่องยากในการอัพเกรด ดังนั้นแล้วการใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ SATA จึงเป็นทางเลือกที่ดูคุ้มค่าที่สุด ด้วยความเป็นอุปกรณ์ที่เปรียบเสมือนโรงงานจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่และต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา การเลือกซื้อจึงควรให้การพิจารณาเป็นพิเศษ ความจุของฮาร์ดดิสก์
แม้ว่าความจุที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันจะมีมากถึง 1000 GB หรือ 1Terabyte การเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งานและค่าใช้จ่ายเป็นหลัก เพราะถึงแม้บางครั้ง ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงดูจะคุ้มค่ากว่าความจุที่ต่ำกว่าก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบการใช้งานของคุณก็ยังถือเป็นเรื่องสำคัญกว่าอยู่ดีโดยความจุก็มีให้เลือกตั้งแต่ 80/120/160/200/250/320/500/750 และ 1000GB ซึ่งเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม ความเร็วรอบสำคัญไฉน สำหรับฮาร์ดดิสก์เดสก์ทอปมีจำหน่ายอยู่ทั่วไป ก็มีให้เลือกตั้งแต่ 5400rpm/7200rpm และ 10,000rpm ซึ่งที่พบกันมากที่สุดจะเป็นแบบ 7200rpm ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงบและราคาไม่แพง แต่สำหรับ 10,000rpm นั้น ส่วนใหญ่จะพบบนฮาร์ดดิสก์รุ่นพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่องานบางอย่างโดยเฉพาะ เช่น การเล่นเกม ทำกราฟิกหรืองานตัดต่อ ที่ต้องการความเร็วสูงในการเปิดไฟล์หรือการดึงไฟล์ข้อมูลเพื่อเรนเดอร์ดังเช่นฮาร์ดดิสก์ Raptor จากค่าย WD หรือ Cheetah จากค่าย Saegate ด้วยความเร็วในการทำงานที่สูง จึงต้องใช้กระบวนการผลิตและวัสดุที่มีคุณภาพสูง จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ประเภทนี้มีราคาที่แพงพอสมควร บัฟเฟอร์สำคัญมากเพียงใด คำตอบคือ สำคัญมากทีเดียว ไม่ใช่เพียงกับการทำงานเฉพาะทางเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเล่นเกม มัลติมีเดียและซอฟแวร์พื้นฐานทั่วไปอีกด้วย ด้วยการสำรองข้อมูลบางส่วนในการใช้งานเอาไว้ เพื่อที่จะเรียกใช้ได้เร็วยิ่งขึ้น และแน่นอนว่ายิ่งบัฟเฟอร์สูงกว่าราคาก็จะกระโดดไปกว่า 20% เลยทีเดียวโดยผู้ใช้ทั่วไปอาจเลือกที่ระดับมาตรฐาน 8MB ก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ถ้าหากต้องการประสิทธิภาพที่สูงขึ้น สำหรับเกมเมอร์หรือการตัดต่อ อาจเลือกเป็นรุ่น 16MB หรือ 32MB ก็ตอบสนองกับงานในหลายส่วนได้ดีทีเดียว Average Seek Time เป็นเวลาในการเข้าถึงข้อมูลโดยเฉลี่ย ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่ระบุมากับฮาร์ดดิสก์ทุกรุ่น โดยส่วนใหญ่สำหรับฮาร์ดดิสก์ทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 12-14ms แต่ถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงก็จะอยู่ที่ 8ms ตัวเลขดังกล่าวยิ่งน้อยยิ่งหมายถึงการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วขึ้น อินเทอร์เฟชบนฮาร์ดดิสก์ ในตลาดเวลานี้มีให้เลือก 2 แบบด้วยกันคือ IDE และ SATA (SATA150 และ SATA300) ส่วนนี้ก็คงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม แม้ว่าในหลายการทดสอบฮาร์ดดิสก์แบบ SATA มีความเร็วกว่า IDE เพียงไม่มาก แต่ต้องไม่ลืมว่าเมนบอร์ดในปัจจุบัน มีพอร์ตสำหรับ IDE น้อยลง ทางเลือกที่เป็น SATA ก็ดูน่าสนใจอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้การสายสัญญาณยังมีขนาดเล็ก จึงทำให้อากาศไหลเวียนภายในเคสได้ดียิ่งขึ้น ฮาร์ดดิสก์แบบพิเศษ นอกจากฮาร์ดดิสก์แบบพื้นฐานที่มีจำหน่ายทั่วไปแล้ว ยังมีฮาร์ดดิสก์อีกกลุ่มหนึ่งที่ผู้ผลิตจัดทำออกมาเป็นพิเศษ เพื่องานหรือความต้องการที่แตกต่างออกไป โดยมีตั้งแต่ วิธีตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้อย่างง่ายๆ สามารถใช้โปรแกรม HD Tune ทดสอบประสิทธิภาพและความผิดปกติของฮาร์ดดิสก์ ด้วยการมอนิเตอร์ให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งดาวน์โหลดได้ที่ www.hdtune.xom หรือจะบริหารข้อมูลและไดรฟ์ได้ด้วยตัวเอง ผ่านระบบ Manage ของระบบวินโดวส์ ด้วยการเมาส์ขวาที่ My Computer จากนั้นเลือกหัวข้อ Manage
ต้องมีการระบายความร้อนที่ดี การติดตั้งพัดลมระบายความร้อนถือว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ทำให้ต้องเลือกเคสที่มีพัดลมระบายความร้อนด้านข้างหรือด้านบนก็จะเป็นการดี แต่อย่างไรก็ตามาให้ติดตั้งเพียงพอเหมาะในการใช้งานเท่านั้น หากใส่พัดลมมากเกินไปก็อาจส่งผลให้เพาเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟไม่เพียงพอ เกิดเสียงดังรบกวนจนน่ารำคาญ อีกทั้งทำให้ฝุ่นเข้าไปเกาะตามอุปกรณ์ต่างๆ มากไปอีกด้วยมีความปลอดภัยในการติดตั้งเคสที่ดีต้องมีการเก็บรายละเอียดงานได้พอสมควร ไม่มีเหลี่ยมคมให้บาดมือได้ นอกจากนี้เคสบางรุ่นยังบุแถบยางในจุดที่ต้องสอดมือเข้าไปติดตั้งอย่างเช่น เพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสก์ ซึ่งช่วยป้องกันการถูกบาดหรือขูดกับผิวหนังได้ดีทีเดียว ความสะดวกในการติดตั้งและจัดวางอุปกรณ์ ปัจจุบันผู้ผลิตเคสส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับฟังก์ชัน สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์มากขึ้น ดังนั้นแล้วผู้ใช้ที่ชอบเล่นฮาร์ดแวร์ มีการถอดเข้า-ออกบ่อยๆ การเลือกเคสที่เป็นแ บบถอดประกอบง่ายๆ ดูจะเป็นทางเลือกที่ดี ไม่ทำให้หงุดหงิดใจเวลาติดตั้ง ซึ่งเคสแบบดังกล่าวอาจมีราคาสูง แต่ในการติดตั้งและแกะออก โดยไม่ทำให้ฮาร์ดแวร์ช้ำหรือเกิดการกระแทกย่อมคุ้มค่าอย่างแน่นอน โดยมีรูปแบบที่น่าสนใจคือ ถาดด้านหลังสามารสไลด์ออก สำหรับติดตั้งเมนบอร์ดได้ง่ายขึ้ นหรือการยึดอุปกรณ์เข้ากับตัวเคสเป็นแบบไม่ใช้ไขควง (Screwless) ซึ่งมีผู้ผลิตหลายค่ายเริ่มใ ห้ความสนใจกันมากขึ้น เทคนิครูปแบบดังกล่าว จะช่วยให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนำไขควงมายึดน็อตทีละตัว แต่จะใช้เป็นสลักยึดที่ล็อกติดกับตัวเคสได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นอ อปติคอลไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์หรือเมนบอร์ดก็ตาม รวมไปถึงการติดตั้งการ์ดต่อพ่วงก็ง่ายขึ้น เพียงใช้สลักยึดกับตัวการ์ดหลังการติดตั้งได้ทันที ทำให้การติดตั้งเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเลือกเคสให้ได้ถูกใจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไม่ใช่เพียงรูปลักษณ์ภายนอกที่สวยงามถูกใจเท่านั้น แต่ต้องพิจารณาคุณสมบัติและความต้องการในการใช้งานด้วย เรื่องขอ งราคาก็อาจเป็นสิ่งที่ช่วยในการตัดสินใจเช่นกัน ดังนั้นขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้ ในการเลือกให้น้ำหนักกับส่วนใดระหว่างรูปลักษณ์ ความสะดวกและราคา
SLI/ CrossFire
กราฟิกการ์ดราคาประหยัด
nVIDIA : GeForce 7300/ 7600/ 8400
การ์ดในกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับการเล่นเกมพื้นฐานทั่วไป รวมทั้งเกมวางแผนในแบบ RTS ไม่ว่าจะเป็น Earth of Empire, Battle field หรือ Company of Heroes ที่ไม่ได้มีความซับซ้อนในการประมวลผลมากนัก แต่อาศัยบัฟเฟอร์ในการจัดการระบบยูนิตมากกว่า รวมถึงการรองรับกับเกมออนไลน์ได้ดีพอสมควร คุณสมบัติหลักๆ ของการ์ดรุ่นนี้คือ หน่วยความจำ GDDR2 (64-bit และ 128-bits) ราคาเริ่มต้นที่ 1,000 – 2,500 บาทเท่านั้น กราฟิกการ์ดสำหรับเกมเมอร์ระดับกลาง nVIDIA : GeForce 8500GT/ 8600GT/ GTS การ์ดระดับกลางนี้ รองรับกับเกมได้เกือบทุกประเภทไม่ว่าจะเ ป็นเกมเดินหน้ายิง วางแผน อันเป็นเกมที่ต้องอาศัยเอนจิ้นหรือ AI ในการคำนวณ รวมถึงการเรนเดอร์พื้นผิวและเอฟเฟ็กต์ ไม่ว่าจะเป็นเกม Call of Duty, Crysis, Sprinter Cell หรือ BioShock แต่การเล่มเกมก็อาจปรับที่ความละเอียดที่สูงกว่า 1280 x 1024 ได้ไม่ยาก แต่ในเรื่องเอฟเฟ็กต์ต่างๆ อาจทำได้ไม่เต็มที่ แต่สำหรับเกมออนไลน์การ์ดระดับนี้เล่นได้สบาย ซึ่งส่วนใหญ่จะมีฟีเจอร์พิเศษ ในการถอดรหัสไฟล์ Hi-Def ได้อย่างสมบูรณ์ การ์ดในรุ่นนี้ มีทั้งแบบ GDDR2 และDDR3 (128-bits และ 256bits) ขึ้นอยู่กับรุ่นและราคา โดยที่การ์ด GeForce 8500GT/8600GT และ HD 2600XT/ HD 3850 มีราคาอยู่ที่ 4,000 – 6,500 บาท โดยป ระมาณ กราฟิกสำหรับเกมเมอร์ระดับฮาร์ดคอร์ nVIDIA : GeForce 7900/ 8800 สำหรับตลาดบนที่มาแรงคงหนีไม่พ้น GeForce 8800GT/ GT S และ HD3870/ HD2900 ซึ่งการ์ดเหล่านี้ตอบสนองได้ดีกับหลายๆ เกม ไม่ว่าจะเป็น Call of Duty, Lost Planet หรือ Gear of War ด้วยคุณสมบัติของโครงสร้างภายในที่มี Pipeline และชุดประมวลผลทรงพลัง โดยเฉพาะกับ Stream Processor และหน่วยความจำในแบบ GDDR3 และ GDDR4 ที่มีตั้งแต่ 512MB ไปจนถึง 1GB (256-bits) และยังรองรับการทำงานร่วมไฟล์ Hi-Def ได้อย่างเต็มที่ จึงทำให้การ์ดกลุ่มนี้ค่อนข้างได้รับความนิยม แม้ว่าบางรุ่นจะมีราคาสูงกว่า 15,000 บาทก็ตามการ์ดระดับบนนี้ แน่นอนว่ารองรับกับเกมในปัจจุบันได้อย่างสบาย บนโ หมดความละเอียดที่สูงระดับ 1600 x 1200 รวมถึงการเปิดเอฟเฟกต์ต่างๆ ที่กล่าวได้ว่าคุ้มค่ามาก สำหรับผู้ที่มีงบประมาณมากและต้องการความสวยงาม ต่อเนื่องของเกมอย่างแท้จริงATI : RADEON HD3870/ 2900
เลือกแบบ Single ความจุสูงแถวเดียวหรือ Dual ความจุเท่ากัน 2 แถวดี
องค์ประกอบอื่นๆ
ดูเหมือนว่าจะเป็นแรมอุปกรณ์ไม่กี่ชนิด ที่ใช้การรับประกันแบบ Life Time Warranty มาเป็นจุดขาย แต่ก็คงต้องทำความเข้าใจกับรูปแบบการรับประกันดังกล่าวนี้ด้วย การรับประกันตลอดชีพ จะหมายถึงการรับประกันไปจนถึงช่วงที่สิ้นสุดการผลิตของแรมรุ่นดังกล่าวเท่านั้น แต่ถ้าเกิดมีปัญหาหลังจากนั้น ทางผู้จัดจำหน่าย อาจให้เลือกเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่น อาจเป็นรุ่นที่ดีกว่าหรือถูกกว่า รวมถึงในบางครั้งอาจต้องจ่ายส่วนต่างด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจและการตกลงกันของผู้ซื้อและผู้จำหน่าย ส่วนเงื่อนไขการรับประกันให้ตกลงกับผู้จำหน่ายให้เป็นที่เข้าใจ แต่ส่วนใหญ่การรับประกันจะไม่รวมไปถึง การแตกหักเสียหาย เม็ดแรมหลุดหรือบิ่น จะมีเพียงบางค่ายที่ยอมรับได้ในเรื่องการไหม้ รวมถึงการเก็บใบเสร็จหรือใบรับประกันไว้ให้เรียบร้อย สำหรับการยืนยันกับร้านค้า หากเกิดปัญหาในขั้นตอนการเคลม อ้างอิง : http://www.bcoms.net/buycomputer/index.asp |
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ซิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjqOg1bm0UXv-3enO6Xo0mUz798wJg7GmwKjo6Yp-WSIV2xrJb3byCfSOjWDHNRsUuYej89r7rVwwFS0D6wBcaKLEs6el8T6pDWWaWEdrirWIKnL-ylyHJm5TzJJFfhTb0oThIH8MNh2LM/s320/chipset1.gif)
ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
North Bridge , South Bridge
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiZPYYycCA_nKInWVyAFX_gyg9s8kmU6VmtODlmPM1DrjA2xf6kc6LAIRwyqdQXEIg4AzGSuzb6ur7rYBAvqy7cImLMuFxuJYipG_0mIkXMbxG2v2NNeUlNBdD0WTS-6V_q2jmcgB9flbg/s320/chipset2.gif)
Accelerated Hub Architecture
โครงสร้างของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architectureนี้จะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับ แบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiHEHjm1dX5qUcLFgjioHaMDpKoayi_cQOPUAw_UlGkGKL4cZqVBQgzuVfxyrRgnVhsGRLPpGN3l9UQdkF5SA9fImIMV7mZrnx_ZLprO507mSQk12r-O1kJGbb8wvCbzpNv9rDquktCQ04/s320/chipset4.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_jGMXMUHBz3tZwYeuYXvcHp0VzmiHkboR5Kwj2F2bxUZQCtQp__K_pnPoT3Wxp9uylq5YSyhauRCTHyHSuSWI5ftlilwRD4gsfejOtusL0vD3u4Vl2CQGDvD-KYpoWtRj6XBbBSUia78/s320/ma4.gif)
ชิปเซ็ตของ Intel
แต่เดิม Intel จะผลิตชุดชิปเซ็ตที่ประกอบไปด้วยชิปเซ็ตไอซี 2 ตัวตัวแรก เรียกว่า North Bridge หรือ System Controller และตัวที่สองคือ South Bridge หรือ PCI to ISA Bridge ซึ่งชิปเซ็ต
ของอินเทลที่ใช้วิธีนี้คือ440BX,440EX,440FX,440LX เป็นต้น ส่วนชิปเซ็ตในรุ่นหลังนี้ อินเทล ได้เปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรมการออกแบบใหม่ที่เรียกว่า "Accelerated Hub Architecture" โดยมีการเพิ่มชิปเซ็ตตัวหลักจากเดิม 2 ตัวเป็น 3 ตัว โดยมีหลักการทำงานคือ
- Graphic & Memory Controller หรือ GMCH ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ ชิป North Bridge เดิมโดยGMCH มีอยู่ในชิปเซ็ต i810 ซึ่งมีชิปแสดงผลกราฟฟิคอยู่ในตัวในภายหลังได้ตัดส่วนนี้ออก ไปเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ เลือกใช้การ์ดแสดง กราฟฟิคได้ตามความพอใจที่เรียกว่าMCH ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับส่วนสำคัญภาย ในเครื่องได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ และส่วนแสดงผลกราฟฟิค และ I/O Controller Hub โดยผ่านระบบบัสที่มีความเร็วสูง
- I/O Controller Hub หรือ ICH ทำหน้าที่คล้ายกับชิปเซ็ต South Bridge แต่เนื่องจากมีความกว้าง
ของช่องทางสื่อสารสูงกว่าชิปเซ็ตตระกูล 4XX จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
ซึ่งรองรับกับมาตรฐานอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่ออกมาเช่น การเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์แบบUDMA/66 ,มาตรฐานAC'97หรือ Modem & Audio Connection สนับสนุนพอร์ต USB ซึ่งเป็นพอร์ตการสื่อสารความเร็วสูง
ICH มี 3 รุ่นคือ ICH0(82801AA),ICH(82801BA) และ ICH2 (82801AB)โดย ICH0 นั้นสนับสนุน
การเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ด้วยมาตรฐาน UDMA/33 และรองรับการทำงานของสล๊อต PCIได้สูงสุดเพียง
4 สล๊อต ส่วน ICH สนับสนุนการต่อเชื่อมกับ ฮาร์ดดิสก์ทั้งมาตรฐานATA-33 และ ATA-/66 โดยรองรับการทำงานของสล๊อต PCI ได้สูงสุดถึง 6 สล๊อตสำหรับ ICH2 จะสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ตาม
มาตรฐานใหม่คือ ATA-100
- FimWARE Hub หรือ FWH ชิปเซ็ตตัวนี้เป็นส่วนที่เพิ่มมาจากโครงสร้างแบบเดิม โดยเป็นส่วนที่ไม่มีการ์ดติดต่อ กับอุปกรณ์ภายนอกเหนือกับ MCH และ ICH หน้าที่ของส่วนนี้จะเก็บโปรแกรมย่อยไว้ภายใน
เพื่อควบคุมการทำงานของชิปเซ็ต ซึ่งเปรียบเทียบไปก็เสมือนกับหน้าที่ไบออสบนเมนบอร์ดนั้นคือโครงสร้างพื้นฐานของ FWHคือเป็นหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด4Mb EEPROM ซึ่งสามารถอัปเกรดได้ด้วย ซอฟแวร์เหมือนการแฟลซไบออทั่วไป FWH มีวงจรสร้างตัวเลขแบบสุ่มที่เรียกว่า Random Number
Generater หรือ RNG ใช้สำหรับเข้าระหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูล ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้จะทำให้
โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาการเข้ารหัสข้อมูลสำหรับนำไปพิสูจน์ ตัวบุคคลหรือการทำธุระกรรมทางอินเตอร์เน็ต หรือ E-commerce Intel ชิปเซ็ตใน ตระกูล8XX เช่น i810, i820, i840 และ i850 เป็นต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiAadp6LPsjjuxeMP_rOl3C7l-7W1WpR3tyGnifE-2ObH1f8iB0U_5h_lG1TVO9s7oUl7HqKVRUybFtJQUTTh5EdOQN6uyHvDG18GhP_7R5ShNNvbd2PRgn5uja78AhVYw8TLCXwH5ETCQ/s320/009.jpg)
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญบนเมนบอร์ด
เมนบอร์ด (Mainboard) เป็นโครงสร้างหลักของแผนวงจรหลักภายในคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม ซิปเซ็ต ฮาร์ดดิส ฯลฯ เข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเป็นระบบ บนเมนบอร์ดประกอบไปด้วยแผนวงจรและอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มากมาย รวมไปถึงชิ้นส่วนอุปกรณ์ทีสำคัญอย่าง ซิปเซ็ต ถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ บนเมนบอร์ด ดังนั้นเพื่อให้เราทราบถึงข้อจำกัดและขีดความสามารถของเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ เราจึงจำเป็นต้องมาทำความรู้จักและทำความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญอย่างนั้นเสียก่อน โดยรายละเอียดของส่วนประกอบต่างๆ มีดังนี้
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiaXIK0RyqS4gSw6bcPJK-vmyQxLTiEFWGJPng4JnCaMp6TPi_HeM3ZKG9_QVLuCbjSe7VpwK65_7O5Uef0D2_I7fqMzzyc6Qk9m0MfHK9LO1eOAKaI2K0PPu2Zvrv8tsam60gt5fJDf_o/s320/AGPSlot.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgN5knFOLJOJUT89GXn4sgEz-1eehPSLOarKy2Yy15axGifgrqRjd64paEqE0M0e8QHS7kTFT2atoHC9Q86OlmKkt3HylBqb2YALaT0gdlh7RNuhQ8RaFEf1oOenSzzlB7T4TAcSDdKTTo/s320/ATXPowerConnector.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhEgfyqEY5Uj_TE2lzgPVdrQVHnEd7wxvC7wFLy2siUbMhD1hVkQX7jkxgxmN-x6z0YRPmoTBO3LCqSjpqBJuvzbPDVCODWzqsoqfcqX7by8fRtpKlq8GWdCbUkyarireXY8W8E5-w460E/s320/bios.jpg)
เป็น CHIP IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์ แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า Power on Self Test (Post) ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์ หรือระบบปฏิบัติการอื่น ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน เช่น AWARD, PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนบนเมนบอร์ดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของเมนบอร์ด
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjkblBvR-cMTI1zmOztLNDU7qOPSK8I6GXVO0j2mlp8WJ1LwouSufGAnz6N8CpK2kHdx3x_U55QeKE-BeGqiQS12GAk3viZ2sj13GUxuUsRXr-_QfRouJLXjvuHjQ7fdWNfXZ4hNz9NHzc/s320/CmosBattery.jpg)
CMOS Battery
แบตเตอรี่เบอร์ CR2032 เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ CMOS เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามาร ตรวจสอบ ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์ มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้ แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป
CPU Socket
ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ Pentium 4 และ Celeron จะเรียกซ็อคเก็ตว่า SOCKET 478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู AMD นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ SOCKET 462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า SOCKET A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บนซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น 478 จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน ส่วนซ็อคเก็ต 462 จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjwXiAO8mtdeD9ijqt8T_O4dNJ_PSW_lpDUuwEaeydgtMNrCIB_3yLZIkoRggeYJ8-fAF7PXCeXlDl12uPzCW5sOAGeNO6tVVokGI1jz_jhnRLd1c0n0UnSonRYCnz4hserQxxLxl2dLfk/s320/FDDConnector.jpg)
Floppy Disk Connector
คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ Disk Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟเท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า FLOPPY หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า FDD พิมพ์กำกับอยู่ ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี Pin หรือเข็มอยู่ 33 อัน โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN 1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์ จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง PIN 1
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhOfwEJEOxKSg1-EQxbQOx3yYfoBqdS0yKgqI2jHXHL9DYVa9EEU9NVkgv5VS7LxJXsUwV6pKcK4cquMep7FF15xiLGeipXq_Mx0Azmt837jw7dv6PGeg5H5Pp9Ig50wCcZWzG72jYae6Q/s320/IDEConnector.jpg)
IDE Connector
เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ IDE อยู่สองชุดด้วยกัน เรียกว่า IDE 1 กับ IDE 2 แต่ละคอนเน็คเตอร์ จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์ สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW และไดร์ฟ DVD อีกอย่างละหนึ่ง เช่นเดียวกันกับ FDD Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ PIN 1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง แต่ IDE Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ 39 พิน (ในรูปคือที่เห็นเป็นสีแดงกับสีขาว)
PCI Slots (Peripherals component interconnect)
สล็อตพีซีไอ เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI การ์ดเสียง การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ Internal เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ VL ซึ่งทำงานได้ช้า การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์ แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ Plug and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า PCI Bus ซึ่งก็หมายถึง เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32 บิต
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhHytdGdCz_417V2oqictBeyZdgynq_9C1eBq7hEg7YScTgH_wpNkpAMfc4e_O2Ho0ilx854lIGgKDGsBwF8VTne5tNYO3ZfrYfKHCSp9xU9YHIbxpuAlgA9VgVf5jQYd8SEqvOFWsGSbc/s320/RAMSlot.jpg)
RAM Sockets
เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่ จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ DDR จะมีรอยมาร์ค อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEipJUALB2qyQCxMHod4jP_Int3RPP_KMB5dfDz7xWirKnWo6-V6DyPZ3ru9ZbhGfXDsizVXdPTyanNMeyDQvjAbSPFXFAVvY6EtjMBgfFvwai-WAUxgMUWGxBBfdYNlB3CYxqUhmJI-OtY/s320/SystemPanel.jpg)
System Panel Connector
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiQMZsymlF9SShAjdUQLTDYzDCv-r6eEfGbf8G-5j-tcaTgwkHjjg3UasBD6Mj6s8hvc1c-fJApEV7KsRU5-JxpqVWQplanNCWK4s4i_ru50EVgGsuEX-9ShAvNy5Tgf7SEF8yasuIrQG0/s320/ps2.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgy7a6i1xfE5PCnUhZvFdCuzJ2aqT81dbYujCxSN_Y4sc3PtyT1rzqv7GTGc3gx9-Hy5ZJaR3ol3T_DblNIzYlN04G3utFcYMwC-CrmPd8W7KEk6qD4BjRNLuB9d72TneL3XgtCh-MVsEQ/s320/usb.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEio0hX37DdL-G-KEqf3stgRk8l38hCbgz86h5lDN3fRC45pEaMRMAEbDplu_HLMpGxnTGyqvQZ8yxCTzWQZteFCmheEf3LM0jz0cc1Ad15lfvVSsGMIFlir0NQCSwY77oflUknCOADV87s/s320/SerialPort.jpg)
Serial Port
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่ 9 ขา เรียกว่าคอมพอร์ต (COM Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ USB เป็นส่วนใหญ่
Video Port
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ กับจอคอมพิวเตอร์ ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู 15 รู สำหรับพอร์ตนี้ จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย (VGA Onboard)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhwLvAxOwMX4OWj-9DXGsBkIUbLwCxzMKZJtvm3TW4oVGUGX6F3176Z09MWoPhj0wuW8wwWyy9bOSRUewxeFYoSqsbJByDPftQ9fftnNUY0TgbhE-LN_LW77zndDbGD1JWqOwL-gO_Qg6o/s320/iee1394.jpg)
IEEE1394 Port
Line in / Line out / Microphone Jack
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย ที่เรียกกันว่า Sound on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี หรืองานตัดต่อวิดีโอ ซาวน์การ์ดแบบติดตั้งเพิ่มก็ยังจำเป็น