ชิปเซ็ตจะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเมนบอร์ดอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ชิปเซ็ตจะเป็นตัว คอยเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์กับด้านความเร็วสูงกับด้านความเร็วที่รองลงไป ให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างสัมพันธ์ กันเพราะความ สามารถต่าง ๆ ที่เมนบอร์ดมีนั้นส่วนใหญ่ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่ระบบบัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ CPU ได้ของยี่ห้อใดบ้างหรือให้รองรับหน่วย ความจำประเภทใด , กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง และอีกหลาย ๆคุณสมบัติด้วยกันที่มีอยู่ใน ตัวของชิปเซ็ต
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjqOg1bm0UXv-3enO6Xo0mUz798wJg7GmwKjo6Yp-WSIV2xrJb3byCfSOjWDHNRsUuYej89r7rVwwFS0D6wBcaKLEs6el8T6pDWWaWEdrirWIKnL-ylyHJm5TzJJFfhTb0oThIH8MNh2LM/s320/chipset1.gif)
North Bridge และ South Bridge
ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
North Bridge , South Bridge
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiZPYYycCA_nKInWVyAFX_gyg9s8kmU6VmtODlmPM1DrjA2xf6kc6LAIRwyqdQXEIg4AzGSuzb6ur7rYBAvqy7cImLMuFxuJYipG_0mIkXMbxG2v2NNeUlNBdD0WTS-6V_q2jmcgB9flbg/s320/chipset2.gif)
Accelerated Hub Architecture
โครงสร้างของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architectureนี้จะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับ แบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว
โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiHEHjm1dX5qUcLFgjioHaMDpKoayi_cQOPUAw_UlGkGKL4cZqVBQgzuVfxyrRgnVhsGRLPpGN3l9UQdkF5SA9fImIMV7mZrnx_ZLprO507mSQk12r-O1kJGbb8wvCbzpNv9rDquktCQ04/s320/chipset4.gif)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_jGMXMUHBz3tZwYeuYXvcHp0VzmiHkboR5Kwj2F2bxUZQCtQp__K_pnPoT3Wxp9uylq5YSyhauRCTHyHSuSWI5ftlilwRD4gsfejOtusL0vD3u4Vl2CQGDvD-KYpoWtRj6XBbBSUia78/s320/ma4.gif)
ชิปเซ็ตของ Intel
แต่เดิม Intel จะผลิตชุดชิปเซ็ตที่ประกอบไปด้วยชิปเซ็ตไอซี 2 ตัวตัวแรก เรียกว่า North Bridge หรือ System Controller และตัวที่สองคือ South Bridge หรือ PCI to ISA Bridge ซึ่งชิปเซ็ต
ของอินเทลที่ใช้วิธีนี้คือ440BX,440EX,440FX,440LX เป็นต้น ส่วนชิปเซ็ตในรุ่นหลังนี้ อินเทล ได้เปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรมการออกแบบใหม่ที่เรียกว่า "Accelerated Hub Architecture" โดยมีการเพิ่มชิปเซ็ตตัวหลักจากเดิม 2 ตัวเป็น 3 ตัว โดยมีหลักการทำงานคือ
- Graphic & Memory Controller หรือ GMCH ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับ ชิป North Bridge เดิมโดยGMCH มีอยู่ในชิปเซ็ต i810 ซึ่งมีชิปแสดงผลกราฟฟิคอยู่ในตัวในภายหลังได้ตัดส่วนนี้ออก ไปเพื่อให้ผู้ใช้สามารถ เลือกใช้การ์ดแสดง กราฟฟิคได้ตามความพอใจที่เรียกว่าMCH ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมต่อกับส่วนสำคัญภาย ในเครื่องได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ และส่วนแสดงผลกราฟฟิค และ I/O Controller Hub โดยผ่านระบบบัสที่มีความเร็วสูง
- I/O Controller Hub หรือ ICH ทำหน้าที่คล้ายกับชิปเซ็ต South Bridge แต่เนื่องจากมีความกว้าง
ของช่องทางสื่อสารสูงกว่าชิปเซ็ตตระกูล 4XX จึงมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น
ซึ่งรองรับกับมาตรฐานอุปกรณ์ชนิดใหม่ที่ออกมาเช่น การเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์แบบUDMA/66 ,มาตรฐานAC'97หรือ Modem & Audio Connection สนับสนุนพอร์ต USB ซึ่งเป็นพอร์ตการสื่อสารความเร็วสูง
ICH มี 3 รุ่นคือ ICH0(82801AA),ICH(82801BA) และ ICH2 (82801AB)โดย ICH0 นั้นสนับสนุน
การเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ด้วยมาตรฐาน UDMA/33 และรองรับการทำงานของสล๊อต PCIได้สูงสุดเพียง
4 สล๊อต ส่วน ICH สนับสนุนการต่อเชื่อมกับ ฮาร์ดดิสก์ทั้งมาตรฐานATA-33 และ ATA-/66 โดยรองรับการทำงานของสล๊อต PCI ได้สูงสุดถึง 6 สล๊อตสำหรับ ICH2 จะสนับสนุนการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ตาม
มาตรฐานใหม่คือ ATA-100
- FimWARE Hub หรือ FWH ชิปเซ็ตตัวนี้เป็นส่วนที่เพิ่มมาจากโครงสร้างแบบเดิม โดยเป็นส่วนที่ไม่มีการ์ดติดต่อ กับอุปกรณ์ภายนอกเหนือกับ MCH และ ICH หน้าที่ของส่วนนี้จะเก็บโปรแกรมย่อยไว้ภายใน
เพื่อควบคุมการทำงานของชิปเซ็ต ซึ่งเปรียบเทียบไปก็เสมือนกับหน้าที่ไบออสบนเมนบอร์ดนั้นคือโครงสร้างพื้นฐานของ FWHคือเป็นหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด4Mb EEPROM ซึ่งสามารถอัปเกรดได้ด้วย ซอฟแวร์เหมือนการแฟลซไบออทั่วไป FWH มีวงจรสร้างตัวเลขแบบสุ่มที่เรียกว่า Random Number
Generater หรือ RNG ใช้สำหรับเข้าระหัสเพื่อรักษาความปลอดภัยข้อมูล ด้วยคุณสมบัติเช่นนี้จะทำให้
โปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาการเข้ารหัสข้อมูลสำหรับนำไปพิสูจน์ ตัวบุคคลหรือการทำธุระกรรมทางอินเตอร์เน็ต หรือ E-commerce Intel ชิปเซ็ตใน ตระกูล8XX เช่น i810, i820, i840 และ i850 เป็นต้น
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiAadp6LPsjjuxeMP_rOl3C7l-7W1WpR3tyGnifE-2ObH1f8iB0U_5h_lG1TVO9s7oUl7HqKVRUybFtJQUTTh5EdOQN6uyHvDG18GhP_7R5ShNNvbd2PRgn5uja78AhVYw8TLCXwH5ETCQ/s320/009.jpg)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น